Ø การผ่าตัดส่องกล้อง (Minimally Invasive Surgery) คืออะไร?
การผ่าตัดส่องกล้อง
หรือการศัลยกรรมผ่าตัดผ่านกล้อง (Minimally
Invasive Surgery) เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ที่ช่วยแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง
ลดอาการเจ็บแผล และใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผล
ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น
Ø โรคที่สามารถใช้กล้องผ่าตัดได้
· โรคหัวใจ
รักษาโรคหัวใจในขั้นวิกฤตด้วยวิธีการสวนหัวใจ
(Cardiac Catheterization) โดยการเปิดเส้นเลือดที่ขาหรือข้อมือ
ขยายหลอดเลือดด้วยเทคนิคการใช้ขดลวดหรือบอลลูน
ช่วยให้หัวใจพ้นวิกฤติจากการขาดเลือดได้อย่างรวดเร็ว
· โรคปอดและระบบทางเดินหายใจ
ตรวจและรักษาโรคระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะต่อมน้ำเหลืองที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง
ผ่านการตรวจอัลตราซาวนด์ ในหลอดลมด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยล่าสุด Endo-Bronchial
Ultrasound (E-BUS)
·
โรคทางนรีเวช
เช่น อาการปวดประจำเดือน ด้วยวีธี Laparoscopic
Surgery (การผ่าตัดผ่านกล้อง)
เพื่อสลายก้อนเลือดที่คั่งค้างอยู่ภายในอุ้งเชิงกรานและรังไข่
อันเป็นที่มาของการปวดประจำเดือนเรื้อรังผิดที่ปกติ รวมถึงการผ่าตัดเนื้องอกมดลูก
เนื้องอกรังไข่ หรือผ่าตัดมดลูก เป็นต้น
·
โรคกระดูกและข้อ
รักษาอาการข้อเสื่อมขั้นต้นโดยการผ่าตัดผ่านกล้อง
Arthroscopic Surgery และรักษาโรคข้อเสื่อมขั้นรุนแรงด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมแผลเล็กด้วยระบบคอมพิวเตอร์นำวิถี
Navigator System ที่ให้ผลการผ่าตัดที่แม่นยำและปลอดภัยมากขึ้น
·
โรคทางเดินอาหาร
ใช้การส่องกล้องแทนการผ่าตัดเปิดหน้าท้องเพื่อค้นหาความผิดปกติภายในระบบทาง
เดินอาหาร เช่น การตรวจรักษาโรคระบบทางเดินน้ำดีด้วยวิธี
Endoscopic
Retrograde Cholangiopancreatiography (ERCP) การเจาะชิ้นเนื้อตับเพื่อตรวจวิเคราะห์โรคด้วยวิธีการใหม่
Transjugular Biopsy (TJ) ที่ปลอดภัยและเจ็บตัวน้อยกว่าเดิม
· ศัลยกรรมผ่าตัดในช่องท้อง
เช่น โรคไส้เลื่อน ผ่าตัดไส้ติ่ง ผ่าตัดถุงน้ำดี ผ่าตัดลำไส้ใหญ่ โรคกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหาร ก้อนเนื้องอกในต่อมหมวกไต การผ่าตัดลดน้ำหนัก รวมทั้งตรวจหาสาเหตุของอาการปวดท้อง ที่ทำให้ผลการรักษาดียิ่งขึ้นทั้งในเรื่องขนาดแผล การเจ็บ และการฟื้นตัว
· ศัลยกรรมตกแต่ง
เช่น แก้ไขปัญหาหน้าผากย่น คิ้วตกด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง Endoscopic Forehead Lift และการเสริมหน้าอกผ่านกล้อง Endoscopic
breast augmentation
· โรคไต
การผ่าตัดนำไตออก (Laparoscopic
Nephrectomy) การผ่าตัดกรวยไต(Laparoscopic Pyeloplasty) การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก
(Laparoscopic radical prostectomy) เป็นต้น
Ø การเตรียมตัวก่อนการเข้ารับการผ่าตัดผ่านกล้อง
- แนะนำผู้ป่วยควรทราบวิธีการผ่าตัดคร่าวๆ และให้ความร่วมมือกับแพทย์
- หากมีโรคประจำตัว หรือ ประวัติการแพ้ยาควรแจ้งก่อน เพราะว่าอาจจะมีผลต่อการผ่าตัด
- ควรงดการดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
- เตรียมร่างกายก่อนการผ่าตัด โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้ เพียงพอ
- ปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ลุกเดินบ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดพังผืดในช่องท้อง
- ไม่ควรทำงานหนักหรือยกของหนัก
- หากเกิดความผิดปกติหลังการผ่าตัดให้รีบพบแพทย์ทันท
- ตรวจร่างกายตามวันและเวลาที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
- แผลเล็ก - แผลเป็นเล็กกว่าวิธีการผ่าตัดแบบเปิดแผลกว้างอย่างเห็นได้ชัด
- เจ็บน้อย - หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บแผลน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลกว้าง
- ฟื้นตัวเร็ว - เนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับความบาดเจ็บน้อยกว่า แผลผ่าตัดเล็ก เกิดพังผืดน้อย และลดโอกาสการเกิด แผลติดเชื้อได้มาก ทำให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวได้เร็ว
Ø ข้อจำกัดหรือข้อเสียของการผ่าตัดส่องกล้อง
- ค่าใช้จ่ายในการศัลยกรรมผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องค่อน ข้ างสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ
- ผู้ป่วยในบางภาวะไม่สามารถใช้วิธีการผ่าตัดแบบส่องกล้องได้ เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคปอดแลหัวใจขั้นรุนแรงคน ที่เคยผ่าตัดและมีพังผืดในท้องมาก
- แพทย์และทีมงานจะต้องที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคการผ่าตัดด้วยกล้องโดยเฉพาะ
อ้างอิง
โรงพยาบาลกรุงเทพ.//(2559).//การผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก(MIS).//สืบค้นเมื่อ23 กุมภาพันธ์ 2559
,/ จาก/http://www.phukethospital.com/Thai/Health-Information/MIS-Surgery.php
โรงพยาบาลสมิติเวช.//(2557).//การผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก(MIS).//สืบค้นเมื่อ23 กุมภาพันธ์ 2559
,/ จาก/ https://www.samitivejhospitals.com/th/minimal-invasive-surgery-%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%
จัดทำโดย
นางสาวชนานันทน์ บุ้นเชียง รหัสนักศึกษา 5701210132 section B ื
ได้ความรู้มากมาย ดีจริงๆเลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลดีๆนะค้าา
ตอบลบมีประโยชน์มากๆเลยค่ะ
ตอบลบเนื้อหาดีมากเลยค่ะ
ตอบลบอ่านเข้าใจง่ายดีครับ
ตอบลบขอบคุณข้อมูลดีๆนะคับ มีประโยชน์มากๆเลย :D
ตอบลบ