วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

นวัตกรรมบำบัดรักษาผู้ที่เป็นโรคบวมน้ำเหลือง


          โรคบวมน้ำเหลือง คือ ภาวะที่มีน้ำเหลืองคั่งค้าง ร่วมกับการขยายตัวและแพร่พันธุ์ของหลอดน้ำเหลือง ซึ่งเกิดบ่อยในบริเวณแขน ขา ใบหน้า หน้าท้อง  เต้านม สะโพก และถุงอัณฑะ โรคนี้มักเกิดในผู้ป่วยเคยได้รับการผ่าตัดรักษามะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ควบคู่กับการฉายรังสี ซึ่งแพทย์จำเป็นจะต้องตัดต่อมน้ำเหลืองทิ้ง รวมทั้งการรับประทานอาหารแสลง ซึ่งมีผลกระตุ้นการบวมของน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น น้ำเหลืองไม่ดี น้ำเหลืองเสีย                                     

                                                                                      

อาการและอาการแสดงในระยะของการเกิดโรค  แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

     ระยะ 0 หลอดน้ำเหลืองมีความเสียหายแล้ว แต่ไม่สำแดงอาการ                                            
     ระยะ 1 บวมชั่วคืน แบบมีกดบุ๋ม คือเช้ามาก็หายบวมหรือเหลือเพียงเล็กน้อย     
     ระยะ 2 บวมตลอด ที่เคยกดบุ๋มจะแน่นขึ้นตึงขึ้น และหนังจะค่อยๆแข็งเป็นพังผืดสะสมใต้ผิว
     ระยะ 3 บวมเท้าช้าง แข็งมาก

ระดับความรุนแรงอาการบวมน้ำเหลือง    

     ระดับ  วัดเส้นรอบวงได้โตกว่าข้างที่ปกติ ภายใน 4 ชม. อาจบวมเฉพาะแขนหรือขาท่อนปลาย 
     ระดับ 2   เส้นรอบวงโตขึ้นกว่า 4 ซม. แต่ไม่เกิน 6 ชม. บวมตลอดแขนหรือขา มีการอักเสบของใต้ผิวหนังเป็นครั้งคราว
     ระดับ 3ก เส้นรอบวงใหญ่กว่าอีกข้างเกิน 6 ซม. ไปแล้วอักเสบบ่อยผิวหนังเสื่อม นิ้วอ้วน น้ำเหลืองซึมตามร่องนิ้ว
     ระดับ 3ข รุนแรงแบบ 3ก แต่บวมลามไปยังขาอีกข้าง
     ระดับ 4   ระดับความรุนแรงสูงสุด บวมเป็นมัด เป็นก้อน ผิวสีคล้ำจนดูสกปรก หนังแข็ง และสาก ขึ้นหูดชุดดอกกะหล่ำ มีน้ำเหลืองเยิ้ม

          วิธีการบำบัดแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการรักษาภาวะบวมในโรคบวมน้ำเหลืองให้หายได้โดยวิธีการบำบัดแบบขันชะเนาะ  ซึ่งคิดค้นโดย นพ.ดร.วิชัย เอกทักษิณ และคณะ ภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งจะต้องปฎิบัติร่วมกับการทำอุณหภูมิบำบัด คือ ประคบเย็น ระงับไข้ ลดอักเสบ สลายคัน และโภชนาบำบัด คือ เว้นของแสลงและรับประทานอาหารมังสวิรัติ นอกจากนี้สามารถทำการบำบัดอื่นเสริมได้ เช่น หัตถาบำบัดซึ่งเป็นการนวดใต้ผิวหนัง วาโยบำบัดโดยการใช้ถุงลมบีบนวดน้ำเหลือง และธาราบำบัด ซึ่งเป็นการใช้แรงดันและอุณหภูมิน้ำ วิธีนี้ใช้เวลาในการรักษาน้อยแต่มีประสิทธิภาพ ปฏิบัติไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้ยา หรือผ่าตัด         


          วิธีการบำบัดโดยการขันชะเนาะที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ วิธีขันชะเนาะคู่ อุปกรณ์ที่ใช้จะตัดเย็บด้วยผ้ายีนส์หนา ประกอบด้วยชะเนาะตัวผู้และตัวเมียพันไขว้สวนหากัน ปลายในเกาะติดกันได้ด้วยแถบตีนตุ๊กแก ปลายนอกขมวดปมได้ด้วย มีห่วงสำหรับสอดไม้ขันเกลียว





การขันชะเนาะเป็นวิธีการเปลี่ยนแรงขันเกลียวให้เป็นแรงโอบรัดในแนวรอบแกน ซึ่งอุปกรณ์ขันชะเนาะถูกประดิษฐ์ขึ้นให้สามารถสร้างแรงบีบอัดที่สามารถปรับควบคุมได้ตามรอบที่ขึ้นเกลียว ทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อรีดไล่น้ำเหลือง โดยการจัดชะเนาะให้ลดหลั่นแรงดันจากมากไปหาน้อยจากปลายแขนหรือขามาหาโคน ประมาณ 80-50 มม.ปรอท หมุนเกลียวขันชะเนาะค้างไว้นาน 15 นาที และคลายเกลียวพักไว้นาน 5 นาที ทำสลับกันเช่นนี้ประมาณ วันละ 10-15 รอบ ภายหลังเสร็จจากการขันชะเนาะทุกครั้งให้ใช้ประคบเย็น ขา แขน บริเวณที่ถูกแรงขันชะเนาะบีบรัด บำบัดเป็นเวลา 3-6 เดือน เหมาะสำหรับขาที่บวมมาก ไม้หมุนคานงัด ใส่แรงได้ง่าย        

          ส่วนการขันชะเนาะอีกวิธีคือ ชะเนาะแบบร้อยเชือก มีการเจาะรู ตอกตาไก่ ใส่เชือก คล้ายเชือกผูกรองเท้าดึงให้ตึงแล้วล็อคเข้าที่ได้โดยใช้ท่อพีวีซี เหมาะสำหรับแขนและขา ปฏิบัติได้แม้ใช้มือข้างเดียว



ผลที่ได้จากการขันชะเนาะแขน





 ผลที่ได้จากการขันชะเนาะขา




แหล่งอ้างอิง

ณัฏฐ์ ตุ้มภู่(19 มกราคม 2553). “โรคประหลาดแต่หายได้โดยไม่ต้องพึ่งยาสืบค้น 
           จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/21576-"โรคประหลาด"%20แต่หายได้โดย
           ไม่ต้องพึ่งยา.html. สืบค้นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2559 
ทีมวิจัยการรักษาโรคบวมน้ำเหลืองจากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล.  
           (2555)นวัตกรรมการบำบัดรักษาโรคบวมน้ำเหลืองโดยวิธีภูษาบำบัดขันชะเนาะลดบวม
           จากองค์ความรู้มูลฐานสู่การพัฒนากระบวนการศึกษา และการประยุกต์เพื่อการรักษาสืบค้น
         จาก www.thaicam.go.thindex.phpoption=com_attachments&task=download
          &id=436. สืบค้นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2559 
นางสาวนฤมล  จันทร์วิเมลือง ,และ นพ.ดร.วิชัย  เอกทักษิณ... วิธีขันชะเนาะลดบวม 
           (Twisting  Tourniquet Technique)สืบค้นาก http://www.lymphedemathailand.
           com/268750/วิธีขันชะเนาะลดบวม-twisting-tourniquet-technique. สืบค้นวันที่ 21 
          กุมภาพันธ์ 2559 
เดลินิวส์(27  มิถุนายน  2553). “นวัตกรรมไทย ภูษาบำบัด”. สืบค้นจาก http://110.164.68.
           234/news_raja/index.php?mode=topicshow&tp_id=4965. สืบค้นวันที่ 21
           กุมภาพันธ์ 2559 
โลกวันนี้(25 มกราคม 2553). “บวมน้ำเหลืองรักษาได้. สืบค้นจาก             
            http://www.lymphedema-thailand.com/14513617/หนังสือพิมพ์โลกวันนี้.  สืบค้นวัน
            ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2559 


จัดทำและเรียบเรียงโดย นางสาววิภาดา สรรพศรี  
วันที่จัดทำ : 10 มีนาคม 2559















40 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ10 มีนาคม 2559 เวลา 07:50

    เป็นบล๊อกที่มีความน่าสนใจ มีเนื้อหาที่ดีและครบถ้วน
    เข้าใจง่าย ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นคะ และทางผู้จัดทำจะพัฒนาข้อมูลนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งๆขึ้นไปน่ะคะ

      ลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ10 มีนาคม 2559 เวลา 07:51

    เป็นบล๊อกที่มีความน่าสนใจ มีเนื้อหาที่ดีและครบถ้วน
    เข้าใจง่าย ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นคะ และทางผู้จัดทำจะพัฒนาข้อมูลนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งๆขึ้นไปน่ะคะ

      ลบ
  3. ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ที่เป็นประโยชน์ อ่านเข้าใจง่ายดีครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณค่ะ ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นประโยชน์ค่ะ

      ลบ
  4. เป็นประโยชน์กับผู้ที่มีปัญหาด้านนี้ แล้วก็ไม่ต้องใช้จ่ายให้สิ้นเปลือง และสามารถทำเองได้

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ใช่ค่ะ เป็นเรื่องที่ดีที่เรามารถประยุกต์ใช้ทำเองได้ที่บ้าน ลดภาระค่าใช้จ่ายค่ะ

      ลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ10 มีนาคม 2559 เวลา 08:14

    เป็นประโยชน์เเละนำความรู้ไปใช้ได้จริงๆๆ อ่านเเละเข้าใจ. อนากให้มีข้อมูลอีกเรื่อยๆๆๆค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณน่ะค่ะ ทางผู้จัดทำมีกำลังใจในการทำข้อมูลต่อไป ดีใจค่ะที่ผู้ที่สนใจสามารถนำไปใช้ได้จริง

      ลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ10 มีนาคม 2559 เวลา 08:15

    หูยยย น่ากลัวจัง/// ข้อมูลนี้ดี ใครเป็นจะได้รู้อาการก่อน

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณน่ะค่ะ ที่ข้อมูลนี้ได้เป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ

      ลบ
  7. เนื้อหาสั้นได้ใจความ มีภาพประกอบทำให้เข้าใจมากขึ้นน แถมสีสันน่าอ่านทำให้ไม่เบื่ออีก ขอข้อมูลแบบนี้เผยแพร่อีกเยอะๆ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ทางผู้จัดทำต้องขอขอบคุณผู้ที่สนใจ ที่ได้เห็นความสำคัญทำให้ผู้จัดทำมีกำลังใจขึ้นเยอะเลยค่ะ

      ลบ
  8. ปัจจุบันคนไทยเป็นกันเยอะมาก แต่รู้ไว้และป้องกันดีที่สุด

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. พูดอีกก็ถูกอีกค่ะ รู้ไว้ป้องกันดีกว่าเยอะเลยค่ะ ^^

      ลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ10 มีนาคม 2559 เวลา 08:22

    ดีมากเลยครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นน่ะคะ

      ลบ
  10. ให้ความรู้มากๆเลยค่ะ อ่านแล้วเข้าใจง่าย ;)

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นน่ะค่ะ

      ลบ
  11. น่ากลัวมจริงๆ ต้องรักษาตัวดีๆแล้วละ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ดีค่ะ การที่เรากลัวแล้วนำมาปรับเปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นถือว่าเป็นการดีค่ะ ที่จะหันมาดูแลสุขภาพกัน เมื่อเป็นแล้วจะลำบากค่ะ ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นน่ะคะ

      ลบ
  12. เนื้อหาอ่านแล้วเข้าใจง่ายและยังสามารถนำความรู้ไปแบ่งปันให้กับผู้อื่นได้ค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ดีมากเลยค่ะ ผู้จัดทำเองก็ดีใจที่ได้แบ่งปันความรู้ให้กระจายบอกต่อกันไปค่ะ ได้มีประดยช์แก่บุคคลอื่นๆ

      ลบ
  13. +1 เลยครับ ดูๆไปก็น่ากลัวนะ แต่ดูผลแล้วเล็กลงเห็นได้ชัดเลย ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ ^0^

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การทำวิธีนี้เห็นผลดีค่ะ ประหยัดค่าใช้จ่าย ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นน่ะคะ ถ้ามีประโยชน์สำหรับคนรอบข้างช่วยบอกวิธีการรักษานี้ด้วยน่ะคะ ขอบคุณค่ะ

      ลบ
  14. อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีครับ

    ตอบลบ
  15. ข้อมูลดีมากๆๆ น้องผมกำลังจะสอบพอดีเลยครับ น้องบอกผมว่า พี่รวมข้อมูลเข้าใจดีมากอ่ะครับ ขอบคุณนะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณเช่นกันน่ะค่ะ ที่ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ในการสอบ และนำไปใช้ได้จริง

      ลบ
  16. เป็นบล๊อกที่น่าสนใจมากๆ มีเนื้อหาข้อมูลที่ดีและครบถ้วนมากๆเลยค่ะสั้นกระทัดรัดอ่านแล้วเข้าใจง่ายมากๆ

    ตอบลบ
  17. ความรู้ใหม่ น่าสนใจมากค่ะ ��

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ค่ะ เหมาะแก่การเผยแพร่ให้มีคนได้รู้นำไปใช้ได้จริงค่ะ

      ลบ
  18. ให้ความรู้มากเลยย หนูจะเอาไปทำรายงานส่งครูพอดี ข้อมูลครบมาก ขอบคุณค่าาาา

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณเหมือนกันค่ะ ดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความรู้ใหม่ๆ

      ลบ
  19. น่าสนใจมากค่ะ แต่อยากให้บอกรายละเอียดวิธีการขันชะเนาะเป็นลำดับขั้นเลย เผื่อมีผู้สนใจอยากลองทำเอง จะดีมากๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณน่ะคะสำหรับคำติชม ผูจัดทำจะปรับปรุงแก้ไขต่อไปค่ะ

      ลบ
  20. เนื้อหาเข้าใจง่ายค่ะ ได้รับความรู้เพิ่มเติม ดีค่ะ

    ตอบลบ
  21. รบกวน ขอสอบถามครับ ไม่ทราบว่า พอจะมีชุดขันชะเนาะ นี้จำหน่ายหรือไม่ครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

    ตอบลบ