การรักษาอาการนอนกรนด้วยหมอน
การนอนส่วนใหญ่เเล้วจะเกิดจากระบบหลอดลมเเคบบีบตัวโดยผู้ที่มีปัญหานอนกรนมักจะมีเนื้อเยื่อในลำคอหนามากกว่าปกติหรือการหย่อยหยานของลิ้นไก่เเละเพดานอ่อนซึ่งทำให้เกิดการสั่นสะเทือนเเละเสียงดังในขณะหายใจ
เมื่อก่อนรักษาด้วยการรักษาโดยวิธีผ่าตัด
(Surgical treatment) ซึ่งพบว่ามีข้อเสียมากในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่สูงเเละต้องใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นนานปัจจุบันจึงได้มีนวัตกรรมหมอนลดอาการนอนกรนขึ้นมาเพื่อเป็นวิธีเลือกอีกวิธีหนึ่งในการลดอาการนอนกรน
โครงสร้างของหมอน ประกอบด้วย
1.แผ่นเสริม ทำหน้าที่เป็นฐานรองหมอนเป็นฐานรองรับต้นคอ
ในการเปลี่ยนท่าต่างๆ
2.ชั้นแผงถุงลม
ทำหน้าที่เป็นหมอนรองเพื่อเพิ่มการยืดหยุ่น
เเละเปลี่ยนเเปลงไปตามลักษณะท่านอนที่เปลี่ยนไป
3.แผงเซ็นเซอร์ ทำหน้าที่เป็นตัวตรวจวัดเสียงในขณะการนอน
เพื่อส่งสัญญาณไปยังแผงถุงลมเพื่อปรับเปลี่ยนตำแหน่งของศีรษะ
4.แผ่น
viscoelastic ทำหน้าที่เป็นแผ่นรองเพื่อเพื่อความยืดหยุ่น
ของหมอน
5.ไมโครโฟน ทำหน้าที่เป็นตัวรับเสียงในขณะการนอนเพื่อส่งไปยัง
แผงเซ็นเตอร์
การใช้งาน
กดปุ่มการเปิดใช้งาน
แล้วก็นอนได้ตามปกติ หมอนจะทำการตรวจวัดเสียงที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ และตำแหน่งของศีรษะบนหมอน อย่างต่อเนื่อง เมื่อbuilt-in microphone ตรวจจับการกรนถุงลม (ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของศีรษะ)
จะพองขึ้นเพื่อปรับเปลี่ยนตำแหน่งของศีรษะอย่างนุ่มนวลและเงียบสนิท
ประโยชน์ของหมอนลดอาการนอนกรน
- สุขภาพแข็งแรง และรองรับต้นคออย่างเป็นธรรมชาติ
- ช่วยผ่อนคลายกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
- การนอนกรนลดลงโดยเฉลี่ยเป็น 70% และลดอาการนอนกรน ได้สูงสุดถึง 95%
- ความสุขจากการนอนหลับที่สนิทและรู้สึกว่าร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
- ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าและไม่อ่อนเพลียในวันรุ่งขึ้น
ข้อเสียของหมอนลดอาการนอนกรน
- มีราคาค่อนข้างสูง
เอกสารอ้างอิง
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.(ไม่ปรากฏปีพิมพ์).ขั้นตอนการรักษาอาการนอนกรน. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา: http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/5301.pdf. 22 กุมภาพันธ์ 2559
ปารยะ อาศนะเสน (Assoc. Prof. PARAYA ASSANASEN). (2556). การรักษาอาการนอนกรน.
(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=530. 18 กุมภาพันธ์ 2559
ปารยะ อาศนะเสน.(2553).อาการนอนกรน(Snoring)และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea). (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=332. 22 กุมภาพันธ์ 2539
โรงพยาบาลรามคำแหง.(ไม่ปรากฏปีพิมพ์).การนอนกรน.(ออนไลน์).แหล่งที่มา:
http://www.ram-hosp.co.th/inform_osas.html. 25 กุมภาพันธ์ 2539
SISSEL®THAILAND.(ไม่ปรากฏปีพิมพ์).หมอนลดอาการนอนกรน INTERACTIVE 3D. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา: http://www.sisselsilencium.com/Silencium_Brochure_Thai_Web.pdf. 18 กุมภาพันธ์ 2559
แหล่งที่มา: http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/5301.pdf. 22 กุมภาพันธ์ 2559
ปารยะ อาศนะเสน (Assoc. Prof. PARAYA ASSANASEN). (2556). การรักษาอาการนอนกรน.
(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=530. 18 กุมภาพันธ์ 2559
ปารยะ อาศนะเสน.(2553).อาการนอนกรน(Snoring)และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea). (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=332. 22 กุมภาพันธ์ 2539
โรงพยาบาลรามคำแหง.(ไม่ปรากฏปีพิมพ์).การนอนกรน.(ออนไลน์).แหล่งที่มา:
http://www.ram-hosp.co.th/inform_osas.html. 25 กุมภาพันธ์ 2539
SISSEL®THAILAND.(ไม่ปรากฏปีพิมพ์).หมอนลดอาการนอนกรน INTERACTIVE 3D. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา: http://www.sisselsilencium.com/Silencium_Brochure_Thai_Web.pdf. 18 กุมภาพันธ์ 2559
จัดทำโดย : นางสาวกัญญ์วรา ไชยวิชู
ขอบคุณค่ะ
ตอบลบเนื้อหาน่าสนใจมากเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ
ตอบลบ