วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2559

รักษามะเร็งตับอ่อน ด้วยนวัตกรรมการฝังแร่ไอโอดีนกัมมันตรังสี125



รักษามะเร็งตับอ่อน ด้วยนวัตกรรมการฝังแร่ไอโอดีนกัมมันตรังสี125
     
           โรคมะเร็งตับอ่อน มักพบในอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป พบมากขึ้นตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ชายพบได้บ่อยกว่า
หญิง ประมาณ 1.3 เท่า โดยถือเป็นโรคที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ การรักษามะเร็งตับอ่อนในสมัยก่อนนั้น
รักษาค่อนข้างยากเนื่องจากไม่สามารถผ่าตัดได้เพราะตับอ่อนเป็นอวัยวะที่อยู่ใกล้ชิดกับเนื้อเยื่อสำคัญและมีเลือดค่อนข้างสมบูรณ์ ส่วนการรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัด ให้ผลการรักษาที่ไม่ดีนัก อีกทั้งกระบวนการรักษาเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษาจะนำไปสู่อาการที่รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นผลการรักษาที่ได้รับจึงน้อย ซึ่งเป็นเหตุผลที่นำไปสู่การเสียชีวิต ล่าสุดได้มีการคิดค้นวัตกรรมใหม่ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนได้เป็นผลสำเร็จ คือ วิธีการรักษาด้วยการฝังแร่ไอโอดีนกัมมันตรังสี 125” โดยโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่าโจว(Modern Cancer hospital Guangzhou)ได้มีการพัฒนารูปแบบการรักษา คือการรักษาด้วยการฝังแร่ไอโอดีนกัมมันตรังสี125 โดยการผ่าตัดด้วยมีดฝังแร่ไอโอดีน
เป็นเทคโนโลยีการรักษาที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ โดยผสมผสานเทคนิคการฉายรังสีกับเทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก รักษาเนื้องอกเฉพาะส่วนได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ                                                                          




     โครงสร้างของแร่กัมมันตรังสีไอโอดีน -125

แร่กัมมันตรังสีไอโอดีน-125 (I-125) มีลักษณะเป็นเม็ดแคปซูลขนาดเล็กที่เปลือกนอกเป็นโลหะไทเทเนียม (Titanium) ความยาว 4.5 มิลลิเมตร 
เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8 มิลลิเมตร ความหนาเปลือกนอก 0.05 มิลลิเมตร มีแร่รังสี (radionuclide) ไอโอดีน-125 อยู่ภายในไส้ขอแกนแท่งเงินภายในแคปซูลค่า
กัมมันตภาของวัตถกัมมันตรังสีทุกเม็ดอยู่ที่ 0.7 mCi มีค่าครึ่งชีวิต 60 วัน
แร่กัมมันตรังสีไอโอดีน-125 จะปล่อยรังสีแกมมาออกมาซึ่งมีค่าพลังงานต่ำและเป็นคลื่นสั้นๆ ดังนั้น รัศมีการแผ่รังสีที่มีประสิทธิผลของแร่ไอโอดีน-125 มีเพียง 1 เซนติเมตรเท่านั้น










หลักการใช้งานของการรักษาด้วยแร่ไอโอดีน
1.ก่อนที่จะทำการรักษาแพทย์ต้องตรวจร่างกายของผู้ป่วยโดยการใช้เครื่องอัลตราซาวน์ หรือเครื่อง
ซีทีสแกน (CT-Scan) เพื่อค้นหาตำแหน่งเนื้องอก

2. ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์วัดขนาดของเนื้องอกและคำนวณว่าจะต้องใช้แร่ไอโอดีนจำนวนเท่าใด โดย
ขนาดของแร่ไอโอดีนกัมมันตรังสี 125 จำนวน 3 เม็ด ยาวเท่ากับเม็ดข้าวสาร 1 เม็ด แล้วนำแร่ไอโอดีนขนาด
เล็กฝังเข้าไปในเนื้อเยื่อของเนื้องอกอย่างแม่นยำโดยไม่ต้องวางยาสลบแต่จะ
ฉีดยาชาเฉพาะที่ ซึ่งใช้เวลารักษาประมาณ 30-45 นาที

            3.เมื่อฝังแร่ไอโอดีนเข้าไป แร่ไอโอดีนจะปล่อยรังสีแกรมม่าออกมา
อย่างต่อเนื่อง เป็นวิธีที่ทำให้ส่วนของเนื้องอกถูกทำลาย แร่ไอโอดีนสามารถ
ปล่อยรังสีแกรมม่าออกมาฆ่าเซลล์มะเร็งเรื่อยๆแต่ขอบเขตการแผ่รังสีแต่ละ
เม็ดมีแค่เพียง 1 เซนติเมตร ซึ่งลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อเนื้อเยื่อปกติ
พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงบาดแผลจากการผ่าตัด ไม่มีผลข้างเคียงที่ร้ายแรง

4.เมื่อฝังแร่ไอโอดีนเสร็จแล้วผู้ป่วยควรนอนพักที่โรงพยาบาลเพื่อดูอาการประมาณ 1-2 วัน ถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อนใดก็กลับไปรักษาที่บ้านโดยการกระจายรังสีแกรมม่าของแร่ไอโอดีนมีอายุการใช้งานประมาณ 6 เดือนจะมีรังสีแกรมม่าแผ่ออกมาอย่างต่อเนื่องภายในเนื้องอกทำให้เซลล์มะเร็งส่วนใหญ่ตายไป






ตัวอย่างผู้ที่เคยรักษาการฝังแร่ไอโอดีนกัมมันตรังสี125





         คุณอรวรรณผู้ป่วยโรคมะเร็งตับอ่อนระยะสุดท้ายที่ยังคงใช้ชีวิตหลังการรักษามากว่า 2 ปีครึ่ง คุณอรวรรณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2553 รับการผ่าตัดเมื่อเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งพบว่าก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ และเส้นเลือดโดยรอบไม่เอื้อต่อการผ่าตัดก้อนเนื้อ แพทย์จึงได้ยุติการผ่าตัด ต่อมาคุณอรวรรณได้ทราบข่าวโรงพยาบาลฟูด้าจากเพื่อนที่เคยรักษามาก่อนว่าที่นี่มีเทคโนโลยีใหม่ในการรักษาที่สามารถควบคุมเนื้อร้ายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด คือการรักษาโดยการฝังแร่ไอโอดีนกัมมันตรังสี125 จึงตัดสินใจเข้ารับการรักษา ปัจจุบันแม้จะยังมีอาการปวดท้องบ้างเป็นครั้งคราว แต่ก็สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ



ข้อดี
1.ขอบเขตการแผ่รังสีที่มีประสิทธิผลมีเพียง 1 เซนติเมตร ดังนั้นนอกเหนือจากภาวะแทรกซ้อนจากการเจาะในระหว่างการฝังแร่แล้ว ความเสียหายของอวัยวะที่ได้รับกัมมันตรังสีและผลข้างเคียงก็มีเพียงเล็กน้อยจึงสามารถปรับปริมาณรังสีให้เหมาะสมกับการรักษาได้
2.ช่วยยืดอายุผู้ป่วยรวมไปถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น อาการเจ็บปวดบรรเทาลงจากเดิม ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้ดีขึ้นกว่าปกติ เป็นต้น
3.ทำให้เนื้องอกตายไปอย่างสิ้นเชิงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายส่วนอื่น


ข้อเสีย

          ปริมาณรังสีที่แผ่ออกไปกระจายตัวไม่สม่ำเสมอการจัดวางแร่กัมมันตรังสีต้องอาศัยเทคนิคการเจาะชั้นสูงของแพทย์ซึ่งลักษณะทางกายวิภาคของร่างกายอาจมีผลต่อการเจาะบางครั้ง และยากต่อการปรับให้เหมาะกับรูปร่างลักษณะของก้อนมะเร็ง
         



อ้างอิง


โรงพยาบาลรักษาโรคมะเร็งเฉพาะทางแห่งชาติฟูด้ากว่างโจว. 2556. คู่มือการป้องกันการรักษาด้วยแร่กัมมันตรังสีไอโอดีน125. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม, 2559, จาก โรงพยาบาลรักษาโรคมะเร็งเฉพาะทางแห่งชาติฟูด้ากว่างโจว:
http://www.fudacancerthailand.com/index.php/news/133-introduced/367-i-125

ทีมวาไรตี้. 2556. ฝังแร่ไอโอดีนรักษามะเร็งตับอ่อน นวัตกรรมใหม่จากจีน ไม่ต้องผ่าตัดสืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม2559, จาก เดลินิวส์http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=36510

พันธสัญญา โชติธนพุทธิพงษ์....นวัตกรรมการรักษาโรคมะเร็งแบบไม่ต้องผ่าตัดจากประเทศจีน.สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม, 2559, จาก โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวhttp://www.moderncancerthai.com/about-news/modern-hospital-dynamics/1817.html


สุริยัน ปัญญาไว. 2556. ใช้ความเย็น-ฝังแร่ไอโอดีน รักษามะเร็ง. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม, 2559, จาก การเมืองกรุงเทพธุรกิจhttp://www.bangkokbiznews.com/news/detail/524969

ข่าวสด. 2556. "อุดเส้นเลือดหล่อเลี้ยงเนื้องอก" นวัตกรรมใหม่รักษาโรคมะเร็งตับ. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม, 2559, จาก เว็บสารสนเทศสุขภาพไทยhttp://www.hiso.or.th/hiso5/healthy/news.php?names=02&news_id=3070


 นางสาว ณัฐภัทรา ปัตถานัง 5701210545 Section A

 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น