วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559

Automated Peritoneal Dialysis (APD) สบายใจล้างไตได้ที่บ้าน !!!


            ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะได้รับคำแนะนำให้ล้างไตเมื่อเริ่มเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4  อัตราการกรองของไตลดลงมาก ค่า eGFR(ค่าอัตราการกรองไต) อยู่ระหว่าง 15-290 ml/min โดยล้างไตผ่านทางช่องท้อง วันละ 4 ครั้ง ซึ่งผู้ป่วยจะต้องคอยเปลี่ยนน้ำยาล้างไตเอง ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง ต่างจากการล้างไตด้วยเครื่อง Automated Peritoneal Dialysis (APD) เป็นการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ จะควบคุมการเปลี่ยนน้ำยาล้างไตอัตโนมัติ สามารถทำได้ในเวลากลางคืนในขณะที่ผู้ป่วยหลับ ส่วนมากจะค้างน้ำยาล้างไตไว้ในช่องท้องหรือแค่เปลี่ยนแค่ครั้งเดียวในหนึ่งวัน  การล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการล้างไตได้เองที่บ้านและไม่รบกวนการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยสะดวกสบายมากขึ้น 




             >>>  อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการ APD <<<

     -          ถุงน้ำยาล้างไต
     -          ถุงขนาดใหญ่ใส่ของเหลวออกจากช่องท้อง
     -          ท่อสายยางต่อเข้ากับถุงน้ำยาล้างไต
     -          ท่อสายยางต่อเข้ากับถุงระบายน้ำออกทางช่องท้อง


>>> การเตรียมผู้ป่วย <<<
     -          ทำความสะอาดร่างกายและผิวหนังบริเวณหน้าท้อง
     -          จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงายศีรษะสูง
     -          ชั่งน้ำหนักผู้ป่วยก่อนทำและหลังทำทุกวัน
     -          จดบันทึกเวลา จำนวนน้ำยาเข้าและออก
     -          ยึดหลักเทคนิคปราศจากเชื้อ
     -          เตรียมน้ำยาล้างไตและอุปกรณ์การทำให้เรียบร้อย









    ***  ข้อดี
              -       ทำให้ผู้ป่วย สะดวกสบายมากขึ้น
              -       สามารถทำการล้างไตได้แม้ขณะที่นอนหลับ
              -       เป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้เข็มฉีดยา
              -       เป็นวิธีบำบัดอย่างต่อเนื่องจึงคล้ายกับการทำงานของไต
              -       เครื่องไม่ทำให้เสียงดังมาก ไม่รบกวนการพักผ่อน
              -       ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำยาล้างไตวันละ 4 ครั้ง
              -       ทำให้โอกาสติดเชื้อเข้าไปในช่องท้องลดลง
              -       ลดขั้นตอนในการทำให้น้อยลง
              -       ช่วยลดภาระของผู้ดูแล

 *** ข้อเสีย
             -       ต้องมีพื้นที่ในการจัดเก็บน้ำยา อุปกรณ์ที่ใช้ในการล้างไต
             -       อาจทำให้น้ำหนักผู้ป่วยที่ล้างไตเพิ่มขึ้น
             -       ต้องมีสายท่อล้างไตแบบถาวรยื่นออกมานอกร่างกาย
             -       อุปกรณ์ค่อนข้างมีราคาแพง





อ้างอิง
ปิยรัตน์ ไพรัชเวทย์. (ม..ป). การล้างไต การบำบัดทดแทนไต(ออนไลน์). ค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2559,แหล่งที่มา : http://haamor.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%95/
ปิยะธิดา จึงสมา. (ม..ป). โรคไตวายเรื้อรัง(ออนไลน์). ค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2559,แหล่งที่มา :       http://www.health2click.com/articles/42092245/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87.html
ศูนย์การเรียนรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ. (2551). โรคไตวายและการล้างไต(ออนไลน์). ค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2559,แหล่งที่มา : http://vachiraphuket.go.th/www/public-health/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=26   
Baxter. (2016). การล้างไตทางช่องท้อง(ออนไลน์). ค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2559,แหล่งที่มา :  http://www.baxter.co.th/th/healthcare_professionals/PD/
Renax Biomedical Tech. (ม..ป). การล้างไตทางช่องท้อง(ออนไลน์). ค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2559,แหล่งที่มา :  http://www.dialysis-tubing.com/th/peritoneal-dialysis-tube.html 




                        


            จัดทำโดย

   นางสาว ชนนิกานต์  สิงห์น้อย 5701210491 Sec. A

















8 ความคิดเห็น:

  1. อยากทราบว่าราคาเครื่องAPDราคาเท่าไรค่ะ

    ตอบลบ
  2. อยากทราบว่าราคาเครื่องAPDราคาเท่าไรค่ะ

    ตอบลบ
  3. ทำมัยไม่บอกราคาครับ หลายคนอยากรู้ครับ

    ตอบลบ
  4. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  5. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  6. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  7. อยาทราบราคาเครื่องและชื่อน้ำยาที่ใช้ค่ะ

    ตอบลบ
  8. สนใจเครื่องล้างไตทางช่องท้องด่วนค่ะ

    ตอบลบ