วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559

โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทผ่านกล้องเอ็นโดสโคป



โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทผ่านกล้องเอ็นโดสโคป

          โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทมักพบในคนอายุ 20-40 ปี โดยมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2 เท่า มักเกิดกับคนที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีแรงกระเทือนที่บริเวณหลัง หรือคนที่แบกของหนัก หรือนั่งทำงานในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง หรือในผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมเกิดขึ้นในร่างกายตามวัยที่สูงขึ้น จึงส่งผลให้มีการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูก เกิดเป็น โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ซึ่งสาเหตุเกิดดจากหลายสาเหตุ เช่น  การก้ม แหงนหรือสะบัดคอบ่อยๆ เป็นนิสัย  ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อมมาก หรือผิดปกติแต่กำเนิด กระดูกสันหลังส่วน pars interarticularis หัก อุบัติเหตุและการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลัง เป็นต้น


โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมักพบที่บริเวณที่คอ หลัง และขา จะมีอาการดังนี้
          ที่คอ: ปวดคอ  บ่า  หรือไหล่เรื้อรัง  ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปจนถึงบริเวณท้ายทอย
          ที่หลัง: ปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง  อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง  มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้าซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด 
          ที่ขา: อาการแสดงที่ขามีได้ 3 แบบ คือ อาการปวด  ชา  หรือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
         

           
           การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นในอดีต  ส่วนใหญ่จะรักษาด้วยการรับประทานยาแก้อักเสบหรือยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้น  ส่วนการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นในปัจจุบัน จะใช้วิธีการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดโดยผ่านกล้องเอ็นโดสโคป

           ขั้นตอนการผ่าตัดโดยผ่านกล้องเอ็นโดสโคป มีดังต่อไปนี้   ภายหลังการดมยาสลบ แพทย์จะสอดกล้องเอ็นโดสโคปผ่านทางแผลผ่าตัดขนาด 7.9 มิลลิเมตรเข้าไปยังเส้นประสาทส่วนที่ถูกกดทับอยู่โดยตรงโดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก กล้องเอ็นโดสโคปจะช่วยให้แพทย์มองเห็นเส้นประสาทอย่างชัดเจน สามารถเลือกตัดเฉพาะส่วนที่มีการกดทับเส้นประสาทออกได้ ไม่ว่าจะเป็นการกดทับจากหมอนรองกระดูกปลิ้น หรือการบีบรัดจากกระดูกข้อต่อและเส้นเอ็นก็ตาม ขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที จากนั้นผู้ป่วยสามารถเดินได้ทันทีหลังการผ่าตัด


ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดโดยผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
          โดยทั่วไปการผ่าตัดจะทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้ คือ รักษาด้วยวิธีประคับประคองไม่เป็นผลสำเร็จ หรือมีอาการปวดเรื้อรัง หรือมีอาการอ่อนแรงของขาอย่างชัดเจน หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระได้

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดกระดูกสันหลัง      
         1.อาบน้ำสระผมให้สะอาด ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้น ไม่ทาเล็บ  ไม่แต่งหน้า  ผู้ชายโกนหนวด  เครา  ผิวหนังบริเวณผ่าตัด  พยาบาลจะโกนออกให้
         2.รักษาความสะอาดของช่องปาก  งดสูบบุหรี่  และเคี้ยวหมาก
         3.ไม่ใส่เครื่องประดับทุกชนิด และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น  ตาปลอม  ฟันปลอมที่ถอดได้  คอนแทคเลนส์
         4.พักกผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ไม่นอนดึก
         5.อุจจาระในคืนก่อนทำการผ่าตัด  หรือเช้าวันที่ทำการผ่าตัด
         6.ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนไปห้องผ่าตัด
         7.เซ็นใบอนุญาติยินยอมรับการรักษาโดยการผ่าตัด
         8.บอกให้ญาติทราบว่า  ท่านจะรับการรักษาโดยการผ่าตัด                

การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลัง
         1.ไม่แตะต้องแผลผ่าตัด ระวัง!ไม่ให้แผลเปื้อนสกปรก หรือถูกน้ำ
         2.ให้ตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง
         3.พยายามหายใจลึกๆ และไอแรงๆ เพื่อให้ปอดขยายตัวเต็มที่ เสมหะไม่คั่งค้างในปอด
         4.ถ้าปวดแผล  ให้กินยาแก้ปวดตามแพทย์สั่งและใช้ยาทุก 4 – 6 ชั่วโมง
         5.ในรายที่ไม่มีข้อห้ามจากแพทย์ให้พลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง     

ผลดีที่ได้รับจากการผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
          อาการปวดแผลผ่าตัดน้อย
          ความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ
          ลดการทำลายเนื้อเยื่อส่วนดีที่อยู่รอบบริเวณผ่าตัด
          ผู้ป่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็ว สามารถกลับบ้านได้ภายใน 24 ชั่วโมง
          ค่าใช้จ่ายน้อยลง

ผลเสียที่ได้รับจากการผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
          หลังผ่านตัดอาการปวดอาจไม่ดีขึ้น
          หลังผ่าตัดกระดูกอาจไม่เชื่อมติดกัน ต้องผ่าตัดใหม่
          อาจได้รับการติดเชื้อจากการผ่าตัด
          เส้นประสาทอาจเกิดการบาดเจ็บ ขณะได้รับการผ่าตัด
          เกิดผลข้างเคียงจากการดมยาสลบ

อ้างอิง
มปก.  โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :  
                    http://www.lib.nu.ac.th/nulibnet/index.php?topic=178.0.  (วันที่ค้นข้อมูล : 22 มีนาคม 2559).
มปก.  สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :  
                    http://www.a-roka.com/uncategorized/โรคหมอนรองกระดูกทั/.  (วันที่ค้นข้อมูล : 22
มปก. การรักษาผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยการผ่านกล้องเอ็นโดสโคป. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :  
                    https://www.bumrungrad.com/th/spine-institute-surgery -bangkok-thailand-best-jci/endoscopic-discectomy-for-disc-herniation.  (วันที่ค้นข้อมูล : 29 มีนาคม 2559).
ววิฒน์   วจนะวศิษฐ์.  การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :  
                    http://med.mahidol.ac.th/ortho/sites/default/files/public/file/pdf/Feature.pdf.  (วันที่ค้นข้อมูล : 22 มีนาคม 2559).
วิชาญ ยิ่งศักดิ์มงคล.  โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :  
                    http://ortho2.md.chula.ac.th/index.php/2014-06-09-04-08-A5.html..  (วันที่ค้นข้อมูล : 22 มีนาคม 2559).
หญิง นพรัตน์ หนูบ้านยา.  โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :                
                    http://www.rtncn.ac.th/pdf/magazine/magazine1.pdf.  (วันที่ค้นข้อมูล : 22 มีนาคม 2559).



                                                                                                                จัดทำโดย
นางสาว พิมพ์พิไล  ธรรมไชยางกูร
                                                                                                              รหัส 5701211191 Sec.A

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น