วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2559

มหัศจรรย์การประคบเย็น








            หลายท่านอาจมีประสบการณ์การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ เช่น หกล้ม ทำให้เกิดรอยฟกช้ำขี้นบริเวณร่างกาย ข้อต่อ หรือกล้ามเนื้อ รวมทั้งแมลงกัดต่อย และมีอาการปวด บวมเกิดขึ้น กรณีเหล่านี้จะเลือกใช้ความเย็นมาประคบบริเวณที่มีการบาดเจ็บ จึงจะได้ผลดีและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นการประคบเย็นจึงเป็นประโยชน์อย่างมากในการที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดของแผลและจะทำให้ไม่เกิดรอยช้ำได้



เมื่อใดต้องประคบเย็น
มีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น ข้อเท้าแพลง รอยฟกช้ำ จากการกระแทก อาการปวดหรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา/การออกกำลังกาย เป็นต้น
อาการปวดเฉียบพลันของส่วนต่างๆ เช่น ปวดไหล่ ปวดหลัง
การอักเสบ บวม แดง ในระยะฉับพลัน
อาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ มีไข้สูง เลือดกำเดาไหล แผลจากของมีคม หรือน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ที่ไม่รุนแรง

ข้อดีของการประคบเย็น

       ความเย็นจะช่วยทำให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือดออกน้อยลง ทั้งเลือดที่ออกนอกร่างกายให้เห็นได้ และเลือดที่ออกนอกเส้นเลือดในร่างกาย ดังนั้นอาการบวมก็จะน้อย มีการดูดซึมน้ำกลับเข้าหลอดเลือดช่วยให้ยุบบวม จึงช่วยลดการบาดเจ็บ การอักเสบ นอกจากนี้ความเย็นยังช่วยลดการนำกระแสประสาทที่รับความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้บรรเทาอาการปวดได้ 

ข้อเสียของการประคบเย็น
      ถ้าประคบนานเกินไปจะทำให้หลอดเลือดหดตัวมาก เนื้อเยื่อบริเวณประคบจะขาดเลือด จะเกิดแผลปวดและบวม

วิธีการประคบเย็น
1. ประคบทันทีบริเวณที่มีการบาดเจ็บ ภายใน 24-48 ชั่วโมง
2. ใช้เวลาในการประคบ 10-15 นาที ไม่ควรใช้เวลานานกว่านี้ และไม่วางที่เดียวนานเกินไป จะเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อได้
3. ในขณะที่ประคบเย็นให้ยกส่วนที่บาดเจ็บสูงกว่าระดับหัวใจ ไม่ควรนวดบริเวณที่บาดเจ็บ จะทำให้เลือดออกมากขึ้น
4. ประคบได้บ่อยเท่าที่ต้องการ แต่ต้องทิ้งระยะพักส่วนที่ประคบอย่างน้อย 45-60 
นาที หรือจนกว่าผิวบริเวณที่ประคบจะอุ่นเท่าผิวปกติ



ข้อควรระวังในการประคบเย็น
1. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการรับความรู้สึก
2. บริเวณที่เลือดไปเลี้ยงไม่พอเพียง
3. ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร
4. ผู้ป่วยที่มีปฏิกิริยาต่อความเย็น เช่น มีเม็ดเลือดแตก แพ้ความเย็น ทนความเย็นไม่ได้ เส้นประสาทอักเสบจากความเย็น เป็นต้น 

อ้างอิง
กันยา ปาละวิวัธน์.(2557). การรักษาด้วยความเย็น. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559,
     จาก
http://www.ideaforlife.net/health/article/0121.html
มนัญญา.  (2555).   นวัตกรรมง่ายๆ ชิ้นงานพัฒนา.สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2559,  
     จาก https://www.gotoknow.org/posts/450733

มนสภรณ์ วิทูรเมธา.  (2555)ประคบร้อน (Warm compression) ประคบเย็น (Cold compression).      

     สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559, จาก http://haamor.com/th

 มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา.  (2553).   คู่มือตู้ยาโรงเรียนและแนวทางการรักษาโรคที่พบบ่อย.    

     สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2559, จาก http://www.yaandyou.net/content-view.php?conid=553

 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.).  (2557).  รู้ได้อย่างไรว่าจะต้องประคบร้อนหรือเย็น?
     สืบค้นเมื่อวันที่31 มีนาคม 2559, จาก http://www.hsri.or.th/people/media/care/detail/5833




                                                            จัดทำโดย
                                                นางสาวจรินทร์พร   บุญยืน 5701211177 Sec A เลขที่ 51  
                                                               







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น