วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559

Abiocor หัวใจเทียมอัจฉริยะ



  
Abiocor  หัวใจเทียมอัจฉริยะ





           ในปัจจุบันโรคหัวใจเป็นสาเหตุสำคัญในการเสียชีวิตของประชากรไทย คนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้น ในปี2556 มียอดผู้ป่วยที่เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นกว่า 50,000 คนเฉลี่ย 6 คนในทุก 1 ชั่วโมง สถิติผู้ป่วยเสียชีวิตเนื่องจากโรคหัวใจในประเทศไทยยังครองอันดับหนึ่งและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอีกด้วย ช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีทำให้เราได้รู้เรื่องราวของโรคหัวใจเพิ่มขึ้นอย่างมาก อีกทั้งมีวิธีการที่จะแก้ไขรักษาโรคหัวใจที่ได้ผลดียิ่งขึ้นนั่นก็คือการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ซึ่งเป็นความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องของหัวใจเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ยาไม่สามารถทำให้โรคหายขาดได้ แต่อย่างไรก็ตามปัญหาที่พบจากการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจก็คือมีผู้ป่วยนับแสนรายที่กำลังรอคอยผู้บริจาคหัวใจที่เข้ากันได้ แต่มีคนจำนวนเพียงน้อยนิดเท่านั้นที่จะโชคดีและสำหรับเทคโนโลยีที่ได้ก้าวหน้าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การรักษาโดยผ่าตัดการเปลี่ยนหัวใจเทียมได้เปลี่ยนโฉมหน้าการรักษาโรคและการใช้ยาไปสู่ยุคใหม่เเละเป็นหนึ่งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการเเพทย์

     หัวใจเทียมเสมือนจริง หรือ “AbioCor” ที่ผลิตโดยบริษัท Abiomed  ประเทศเยอรมณี ที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้มีการอนุมัติให้มีการทำการผลิตเทียมชนิดสมบูรณ์สำหรับเปลี่ยนแทนหัวใจดวงเดิมได้










  













       

          หัวใจเทียม Abiocor ผลิตจากไททาเนียมและพลาสติกชนิดพิเศษ น้ำหนักประมาณ 2 ปอนด์ ได้รับการออกแบบให้ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังปอดและส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้เหมือนกับหัวใจจริง ทำงานโดยเลียนแบบจังหวะการเต้นของหัวใจ และเป็นหัวใจเทียมชนิดแรกที่สามารถผ่าตัดใส่ในร่างกายได้สมบูรณ์
         
       นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณชีพและมีการเตือนเมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็กไร้สายที่อยู่ภายนอกร่างกายและมีแบตเตอรี่ภายในซึ่งอยู่ได้นานถึง 60 นาที ทำให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่างๆ ได้โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ภายนอก เช่น อาบน้ำ ว่ายน้ำ ปัจจุบันนี้มีคนเป็นโรคหัวใจล้มเหลวที่ได้รับการผ่าตัดใส่หัวใจเทียม AbioCor แล้ว 14 ราย สามารถยืดอายุได้เฉลี่ยนาน 5.3 เดือนได้ถึง 6 ราย






















ส่วนประกอบของหัวใจเทียม Aboicor
                          
    








                                                                                
                                                                           - Right Outflow
                            - Right inflow
                            - Balance Chamber
                            - Left  Inflow
                            - Left Outflow with Integral Valve
                            - Left Blood Pump
                            - Energy converter


 ข้อจำกัดของผู้ป่วยที่สามารถใส่หัวใจเทียม Abiocor

                   
  1.       เป็นผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวระยะสุดท้าย
                  2.       เป็นผู้ป่วยที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่ไม่ถึง 30 วัน
                  3.       เป็นผู้ป่วยที่ไม่เคยรับการปลูกถ่ายหัวใจมาก่อน
                  4.       เป็นทางเลือกสุดท้ายในการรักษา




















     เห็นมั้ยล่ะคะ .. ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันมีความสำคัญ และมีส่วนในการช่วยให้มนุษย์เช่นเราๆ ดำรงชีวิตได้ยืนยาวมากขึ้น แต่ยังไง การรักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์นั้นก็ต้องใช้ค่าใช่จ่ายมากเลยทีเดียว ดังนั้นเราก็ต้องรักษาสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และตรวจเช็คและสังเกตร่างกายเราเอง และคนใกล้ชิด ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ แค่นี้ ก็ทำให้ห่างไกลจากโรคหัวใจได้มากขึ้นแล้วล่ะค่ะ.


อ้างอิง


           กาญจนวรรณ บุดดา.(2559).เทคโนโลยีก้าวไกลกับการแพทย์สมัยใหม่.            
            สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2559. จาก http://std08521.blogspot.com/
               Bioengineering center.(2552).การพัฒนาเทคโนโลยีและการศึกษาในทางการแพทย์
            สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559,จาก http://www.bioengenerringcenter.org 
            Heart Assist Devices .( 2001, July ).  AbioCor Implantable. Retrieved
                    March 22,2016,from http://www.texasheart.org/
            Maria Guirguis.(2013) . AbioCor Artificial Heart. Retrieved March
                    22,2016,from http://www.ele.uri.edu/
            Techno around us life.(2556). สุดยอดเเห่งเทคโนโลยีทางการเเพทย์.สืบค้นเมื่อ
                    22 มีนาคม 2559,จาก http://std08453.blogspot.com/                                                                                                                                 


                                                     จัดทำโดย  นางสาวสุภชา  ขันตี
                                           5701210774  Sec A

1 ความคิดเห็น: