วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559

ตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก...ไปทำไม?

ตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก...ไปทำไม?






»» โรคกระดูกพรุน คืออะไร ?  ««     

          คือ การที่กระดูกทั่วร่างกายมีมวลกระดูกหรือปริมาณความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลงจนทำให้กระดูกเปราะบางและแตกหักได้ง่ายกว่าปกติ


»» สาเหตุของโรคกระดูกพรุน  ««

          คือ กระบวนการเสื่อมของกระดูกตามอายุ ยิ่งอายุมากยิ่งมีความเสื่อมของกระดูกมาก เนื้อกระดูกจึงมีการสูญเสียไปเรื่อยๆอย่างช้าๆ โดยไม่มีอาการแสดงที่เด่นชัดจึงทำให้กระดูกเปราะบางและแตกหักได้ง่ายโดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน การขาดฮอร์โมนเพศทำให้มีอัตราการสูญเสียเนื้อเยื่อมากกว่าปกติ

                                            


»» ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน  ««

1. ผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิง
2. หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือหญิงที่ตัดรังไข่ จะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทันทีทำให้เซลล์สลายกระดูกทำงานในอัตราที่เพิ่มขึ้น
3. คนเอเชียและคนผิวขาวจะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าคนผิวดำ
4. บุคคลที่มีประวัติครอบครัวมีผู้เป็นโรคกระดูกพรุน
5. บุคคลที่มีรูปร่างเล็ก ผอม บาง
6. บุคคลที่ขาดการออกกำลังกาย และมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
7. สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชา กาแฟ ใช้้ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์  ยาฮอร์โมนบางชนิด
8. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อย  เบื่ออาหาร
9. เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ตับ ไต ไขข้ออักเสบ


»» การตรวจความหนาแน่นของกระดูก  ««

          ใช้วิธี Dual energy x-ray absorption (DEXA) เป็นการตรวจโดยใช้หลักการวัดการดูดรังสีเอกซ์ 2 ระดับพลังงาน ประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สามารถคัดกรองภาวะเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักหรือกระดูกพรุนได้
          วิธีนี้ถือเป็นวิธีการที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับมากที่สุดในปัจจุบัน มีแนวทางการรักษาที่ชัดเจน รวดเร็ว ได้ผลถูกต้อง มีปริมาณรังสีน้อยมากและเป็นมาตรฐานเดียวกับต่างประเทศ โดยตัวเครื่องถูกออกแบบให้สามารถตรวจกระดูกได้หลายตำแหน่ง แต่บริเวณที่เหมาะสมแก่การตรวจมากที่สุดคือบริเวณกระดูกที่รองรับน้ำหนักของร่างกาย คือกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพกและกระดูกข้อมือ


»» เดิมตรวจวัดโดยวิธี..?  ««

          ◙ วิธี QCT (Quantitative Computed Tomography) ข้อดีคือเป็นเทคนิคที่ให้ความถูกต้องและแม่นยำ สามารถแยกกระดูกส่วนนอกและกระดูกส่วนในได้ชัดเจน แต่ข้อเสียคือผู้รับการตรวจจะได้รับปริมาณรังสีสูง

          ◙ วิธี Ultrasound (อัลตราซาวด์) ข้อดีของการตรวจวิธีนี้คือเป็นการตรวจที่ไม่ใช้รังสี ผู้รับการตรวจจึงไม่ได้รับอันตรายจากรังสีเลย แต่เทคนิคนี้ให้ความถูกต้องแม่นยำที่ไม่สูงมากนัก และสามารถตรวจได้เฉพาะกระดูกส้นเท้า ซึ่งไม่ใช่จุดที่เสี่ยงต่อการหัก นอกจากนี้ผลการตรวจที่ปกติก็ไม่ได้เป็นตัวแทนของความหนาแน่นมวลกระดูกในกระดูกส่วนอื่นๆ จึงบอกค่าได้เฉพาะกระดูกชิ้นที่ตรวจเท่านั้น


»» วิธีการตรวจนี้ดีกว่าการตรวจแบบเดิมอย่างไร  ««

          การใช้วิธี DEXA เป็นการตรวจโดยใช้รังสีเอกซ์พลังงานต่ำ สามารถตรวจพยการลดลงของเนื้อกระดูกได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ สามารถคัดกรองภาวะเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักหรือการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ ทำให้สามารถใช้ติดตามผลการรักษาได้สะดวกสบาย ถูกต้อง แม่นยำ มีปริมาณรังสีน้อย รวดเร็วและมีมาตรฐาน โดยมีวิธีการประเมินค่าอ้างอิงตามเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก 


»» ผู้ที่ควรได้รับการตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก  ««

1.  บุคคลที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
2.  หญิงวัยหมดประจำเดือน ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนหรือมีประวัติกระดูกหัก
3.  หญิงที่ได้รับฮอร์โมนเอสดตรเจนมาเป็นเวลานาน
4.  บุคคลที่มีภาวะกระดูกสันหลังผิดปกติ
5.  บุคคลที่ได้รับยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
6.  บุคคลที่มีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนเกิน
7.  ติดตามการรักษากระดูกพรุน


░░ข้อดี░░
1.  ให้ความถูกต้องแม่นยำสูง
2.  ผู้รับการตรวจได้รับปริมาณรังสีน้อย
3.  สามารถใช้ตรวจกระดูกได้หลายส่วน รวมทั้งมวลกระดูกทั่วร่างกาย

░░ข้อเสีย░░
มีข้อจำกัดในกรณีมีภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมซึ่งพบบ่อยในผู้สูงอายุ และค่าที่ตรวจได้จะมีความคลาดเคลื่อนสูง





คลิป Dual energy x-ray absorption (DEXA)







แหล่งอ้างอิง

กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์.  (ม.ป.ป.).  Bone Densitometry เครื่องวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกค้นเมื่อ
20 มีนาคม 2559แหล่งที่มา  :  www.chularat.com/scanandtreatment_detail.php?id=67&gid=3&lang=th
บริษัทในเครือสีมาเฮลธ์แคร์.  (ม.ป.ป.).  ตรวจวัดความหนาแน่นกระดูก(ออนไลน์).  ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2559, 
          แหล่งที่มา  :  http://www.simaxray.com/knowlage11.php
สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์.  (ม.ป.ป.).  การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกเพื่อวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุนค้น
เมื่อ 20 มีนาคม 2559แหล่งที่มา  :  radio.md.chula.ac.th/nuclearmedicine/?page_id=24
สามารถ ราชดารา.  (ม.ป.ป.).  ความหนาแน่นมวลกระดูก Bone mineral density.  ค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2559
          แหล่งที่มา  : haamor.com/th/ความหนาแน่นมวลกระดูก/
โรงพยาบาลกรุงเทพ.  (ม.ป.ป.).  การตรวจความหนาแน่นกระดูก(ออนไลน์).  ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2559, 
แหล่งที่มา  :  https://www.bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-services-th/orthopedic-center-th/item/1163-bone-mineral-density-test-th.html
โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค.  (2555).  เครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูก(ออนไลน์).  ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2559
แหล่งที่มา :  http://www.overbrook-hospital.com/index.php?option=com_content&view=article&id=318%3A2012-02-22-14-03-00&catid=71%3Aservice&Itemid=232



จัดทำโดย
นางสาวอัชราภา พรหมเนาว์
5701210040  Sec A  เลขที่ 2



13 ความคิดเห็น:

  1. เป็น blog ที่ดีมากค่ะ ได้ความรู้ในเรื่องของการตรวจวัดมวลกระดูก ทำให้ทราบถึงสาเหตุของโรคกระดูกพรุน เป็นข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินให้ไปลองตรวจวัดมวลกระดูกมากเลยค่ะดิฉันก็เป็นกลุ่มเสี่ยงอยู่เหมือนกัน ��

    ตอบลบ
  2. เป็นความรู้ที่น่าสนใจ รู้สาเหตุการเกิดโรคสามารถปฎิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดโรคได้ และสามารถนำไปเป็นทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพกระดูกตนเองได้อีกด้วย

    ตอบลบ
  3. เนื้อหาดีมากๆค่ะ ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดีๆค่ะ

    ตอบลบ
  4. เป็น blog ที่ดีมากครับ ให้ความรู้ได้ดีมากครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีครับ

    ตอบลบ
  5. ค่าใช้จ่ายของการตรวจมวลกระดูกราคาแพงไหมคะ

    ตอบลบ
  6. มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  7. ขอบคุณที่เผยแพร่ความรู้นะคะ ��

    ตอบลบ
  8. ได้รับความรู้ใหม่ๆที่มีประโยชน์ และน่าสนใจมากๆค่ะ

    ตอบลบ
  9. ขอบคุณสำหรับสาระดีๆ

    ตอบลบ
  10. ขอบคุณสำหรับสาระดีๆค่ะ

    ตอบลบ
  11. ขอบคุณที่เผยแพร่ความรู้ค่ะ สาระดีๆมีอยู่จริง

    ตอบลบ
  12. ขอบคุณข้อมูลดีๆนะคะ

    ตอบลบ