วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559

Electronic tattoo technology(รอยสักอิเล็กทรอนิกส์)

    Electronic tattoo technology (รอยสักอิเล็กทรอนิกส์ไฮเทค) คิดค้นโดยJohn A.Rogers นักวิจัยและวิศวกรมหาวิทยาลัยอิลินอยล์จากแนวคิดการพัฒนาแผ่นอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนการมีอุปกรณ์ในการตรวจสภาพทั่วไปของร่างกายข้อมูลทางการแพทย์และรวมไปถึงการเชื่อมต่อสื่อสารกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง
    
      John A. Rogers นักวิจัยและวิศวกรได้นำแผ่นอิเล็กทรอนิกส์วงจรไฟฟ้าที่มีความยืดหยุ่นตามลักษณะของผิวหนังมนุษย์มาประยุกต์เป็นแผ่นรอยสักไฟฟ้าที่สามารถลอกได้เหมือนสติกเกอร์ทั่วไปโดยไม่ต้องใช้คนมาควบคุมใดๆ ซึ่งเป็นการตรวจสอบและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับร่างกายของคน การทำงานของอวัยวะ โดยเฉพาะข้อมูลทางการแพทย์ ตั้งแต่การเต้นของหัวใจ แรงดันเลือด การเต้นของหัวใจ และการทดสอบเกี่ยวกับ EEG และ EMG ไว้เพื่อตรวจสอบระบบเส้นประสาทและการทำงานของกล้ามเนื้อซึ่งมีประโยชน์ทางการแพทย์อย่างมาก


วิธีการทำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รอยสักที่ยืดหยุ่นได้
  
1.  การพิมพ์วงจรไฟฟ้าไปบนวัสดุที่ยืดหยุ่นได้ เช่น การใช้ปากกาวาดรูปไปบนผิวหนัง

2. โดยสร้างจาก carbon nanotubes และยางที่สามารถยืดหยุ่นได้สามเท่าของความยาวปกติ 

ลักษณะของแผ่นอิเล็กทรอนิกส์
มีลักษณะเป็นเหมือนดังแผ่นที่มีส่วนประกอบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กเรียงตัวกันบนแผ่นยางขนาดเล็กที่บางมาก ได้แก่ 
·เซนเซอร์ที่ประกอบไปด้วย EEG และ EMG เซนเซอร์ไว้ใช้ตรวจสอบระบบเส้น ประสาทและการทำงานของกล้ามเนื้อ 
· หลอดไฟ LEDs ขนาดเล็ก 
·ทรานซิสเตอร์(อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าหรือรักษาระดับ  ค่าแรงดันไฟฟ้า) 
· ตัวรับสัญญาณวิทยุ อุปกรณ์รับส่งสัญญาณแบบไร้สาย ขดลวดตัวนำ 
·โซล่าเซลล์ที่จะนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นแหล่งพลังงานในการทำงานของแผ่นอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะนี้  



การเตรียมตัวก่อนและหลัง การติดรอยสักอิเล็กทรอนิกส์
1.  วัดสัญญาณชีพ อุณหภูมิร่างกายไม่เกิน 38 องศาเซลเซียล
2.   ถอดเครื่องประดับทุกชิ้น
3. คำนวณความเค้นและความเครียดเนื่องจากการออกแบบวงจรที่แตกต่างกันและเลือกใช้เฉพะวงจรที่มีความยืดหยุ่นสูงที่สุดเท่านั้น
4.    เลือกใช้ชนิดอุปกรณ์ป้องกันและขนาดที่เหมาะสม(เป็นฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์)
5.    ตรวจสอบสายไฟฟ้าอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเฉพาะสายไฟฟ้าฉนวนชำรุด
6.    ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถูกวิธีตามที่แพทย์แนะนำ
7.    ควรหลีกเลี่ยงในรายที่มีโลหะฝังอยู่ในร่างกาย เช่น 
-          ที่ผ่าตัดติดคลิปอุดหลอดเลือดในโรคเส้นเลือดโป่งพอง (Aneurism Clips)  

-          metal plates ในคนที่ดามกระดูก 

-          คนที่เปลี่ยนข้อเทียม 

-          คนที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม (Artificial Cardiac valve)

-          ผู้ที่ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ  

8.    วัดระดับความรู้สึกตัวทุกครั้งหลังจากทำเสร็จ

 ข้อดี 
1. สามารถจับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าของหัวใจเป็นการทดสอบเกี่ยวกับ EEG และ EMG ไว้เพื่อตรวจสอบระบบเส้นประสาทและการทำงานของกล้ามเนื้อ
2.   ใช้เก็บข้อมูลทางการแพทย์ เช่น การเต้นของหัวใจ แรงดันเลือด การเต้นของหัวใจ
3.  ตรวจสอบและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับร่างกายของคนการทำงานของอวัยวะการวิเคราะห์โรคอาการของโรค
4.    แผ่นอเล็กทรอนิกส์มีลักษณะเป็นเหมือนวงจรไฟฟ้าที่มียืดหยุ่นตามลักษณะของผิวหนัง
5.    มีขนาดเล็กและบางกะทัดรัดสามารถขยับหรือบิดไปในทิศทางใดก็ได้
6.    สะดวกในการใช้งานโดยใช้น้ำลูบและแปะผิวหนังได้เลย
7.    ไม่จำเป็นต้องใช้เจลหรือเทปติดอย่างทั่วไปที่พบในโรงพยาบาล
8.    สามารถเอาออกได้เหมือนสติกเกอร์ทั่วไป

ข้อเสีย
1.    ตรวจสอบและเก็บข้อมูลเฉพาะทาง
2.   ใช้สำหรับติดตามการทำงานของสมองและหัวใจ
3.    สามารถติดกับผิวหนังในระยะเวลาสั้นได้แค่ 24 ชั่งโมง
4.    ตรวจสอบและเก็บข้อมูลเฉพาะข้อมูลด้านการแพทย์เท่านั้น
5.    การทำงานโดยอาศัยคำสั่งเสียงและการเคลื่อนไหวของร่างงกาย
6.    กรณีที่แปะไว้ที่คอจะรับสัญญาณได้เพียงแค่พูดออกเสียงเท่านั้น

แหล่งอ้างอิง
วิชาการ.คอม.(2559). แผ่นอิเล็กทรอนิกส์ติดผิวหนังอัจฉริยะเหมือนมีรอยสักอัจฉริยะชั่วคราว. ค้นเมื่อ 23
มีนาคม2559,จาก http://www.vcharkarn.com/vnews/153928
Admin.(2559). รอยสักอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นการสนทนารูปแบบใหม่ของมนุษย์. ค้นเมื่อ 23 มีนาคม
2559จาก http://acty.e-tech.ac.th/article/?p=204
my lungs.(2559). รอยสักอิเล็กทรอนิกส์Gadgetชิ้นใหม่สุดไฮเทค. ค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2559,
จาก http://www.biomed.in.th/electronic-tattoo/

Terminus.(2559).ลายสักอิเล็กทรอนิกส์แบบวงจรติดผิวหนัง.ค้นเมื่อ 22 มีนาคม2559,

จากhttps://jusci.net/node/1988
Tuesday.(2559).รอยสักอิเล็กทรอนิกส์ที่จะช่วยให้แพทย์เก็บข้อมูลในร่างกาย.ค้นเมื่อ 22 มีนาคม
2559,จากhttp://mobiledista.com/archives/89451
                                                                                                                
                              จัดทำโดย
                    นางสาว พรทิพย์ กำเหนิด 5701210637 sec.A

6 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาน่าสนใจมากค่ะ :)

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ7 เมษายน 2559 เวลา 12:42

    เนื้อหาครอบคลุม และน่าสนใจ

    ตอบลบ
  3. ได้ความรู้มากๆเลยค่ะ เนื้อหาดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาดีมากเลย น่าสนใจมากครับ

    ตอบลบ
  5. สนุกมากๆค่ะ ได้ความรู้มาก

    ตอบลบ
  6. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ